วันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2560

จริยธรรมการใช้อินเตอร์เน็ต

จริยธรรมการใช้อินเตอร์เน็ต

ผลเสีย

" ข้าราชการชายคนหนึ่ง โพสต์เหยียดหยามเด็กปั๊ม"
 ผลกระทบ : เด็กปั๊มเกิดความเสียหาย ขายหน้า
"แม่วัยรุ่นโพสต์รูปลูกชายตัวเล็กดูดยาลงเว็บดัง"
 ผลกระทบ : สังคมเสื่อมเสีย เด็กอาจเป็นอันตรายได้
 
"นักท่องเน็ตหาคู่รักในออนไลน์"
 ผลกระทบ : คู่รักที่หามา อาจลวงไปทำมิดีมิร้ายได้ หรืออาจลวงนำเงินไปจนหมดตัว
 
"หนุ่มเรียนผลิตยาบ้าจากทางอินเทอร์เน็ต"
 ผลกระทบ :  สังคมเสื่อมเสีย มีผู้ติดสารเสพติดมากขึ้น
 
"ซื้อยาทำแท้งผ่านอินเตอร์เน็ต"
 ผลกระทบ : มีเด็กท้องในวัยเรียนมากขึ้น สังคมเสื่อมเสีย
 

ผลดี

1. สามารถติดต่อกับคนได้ทั่วโลก
2. สามารถใช้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล , ความคิดเห็น
3. สามารถใช้ช่วยในการค้นหาและโอนย้าย Software ต่าง ๆ มาได้ฟรี
4. สามารถค้นคว้าวิจัย เปรียบเหมือนคุณเข้าห้องสมุดไปศึกษาค้นคว้าหนังสือต่าง ๆ โดยที่ตัวคนเองไม่ต้องไปยังห้องสมุดนั้น
5. สามารถอ่านข่าวสารของกลุ่มสนทนาต่าง ๆ
6. สามารถท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้ทั่วโลก เช่น พิพิธภัณฑ์ , สวนสัตว์ เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2560

ส่วนประกอบของโปรแกรม microsoft word 2013


ส่วนประกอบของโปรแกรม microsoft word 2013


    1. หมายเลข แถบชื่อเรื่อง (Title Bar)  เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงชื่อของไฟล์เอกสารที่กําลังใช้งานและแสดงชื่อของ โปรแกรมจากภาพงานเอกสารที่กําลังใช้งาน

    2. หมายเลข แถบเครื่องมือด่วน (Quick Access Tool Bar)  เป็นส่วนที่แสดงคําสั่งที่ต้องการใช้งานบ่อยๆ ปรากฏอยู่ด้านบนซ้าย ของหน้าต่างหรือเราสามารถสั่งให้แสดงอยู่ใต้ริบบอนก็ได้ที่แสดงในรูปของปุ่มรูปภาพ

    3. หมายเลข แท็บคําสั่ง ไฟล์” (File Tab)  เป็นปุ่มรายการที่รวบรวมคําสั่งที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแฟ้มหรือ งานนําเสนอ ซึ่งประกอบด้วยคําสั่ง ข้อมูล” “ใหม่” “เปิด” “บันทึก” “บันทึกเป็น” “พิมพ์” “แชร์” “ส่งออก” และ ปิด
 
   4. หมายเลข แท็บเครื่องมือหรือริบบอน (Ribbon)  เป็นแท็บที่รวบรวมเครื่องมือคําสั่งต่างๆของโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด ซึ่งจะถูก แบ่งออกเป็นแท็บ (Tab) ตามหมวดหมู่ของการใช้คําสั่ง 
 
   5. หมายเลข ไม้บรรทัด (Ruler) ไม้บรรทัด เป็นส่วนที่แสดงมาตราส่วนเช่นเดียวกับไม้บรรทัดทั่วไป เพื่อบอกระยะของข้อความในเอกสาร มีทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ใช้ได้ทั้งเป็นนิ้วและเซนติเมตร

   6. หมายเลข ตําแหน่งพิมพ์ (Cursor) หรือเคอร์เซอร์เป็นเครื่องหมายที่บอกตําแหน่งการพิมพ์งานในปัจจุบัน

   7. หมายเลข แถบสถานะ (Status Bar)  เป็นส่วนที่แสดงสถานะของการใช้งานเอกสารในขณะนั้น บางสถานะของ การทํางานส่วนนี้จะแสดงคําอธิบายการทํางานให้ทราบด้วย

   8. หมายเลข มุมมอง (View) เราสามารถใช้มุมมองของเอกสารในแบบต่าง ๆ จากริบบอน มุมมอง” หรือใช้จากแถบ สถานะด้านมุมล่างขวามือตามหมายเลข ก็ได้ซึ่งได้แก่มุมมอง โหมดการอ่าน” “เค้าโครงเหมือนพิมพ์” และ เค้าโครงเว็บ

   9. หมายเลข มุมมองย่อ/ขยายย ใช้สําหรับปรับมุมมองของเอกสาร ซึ่งสามารถปรับได้ทั้งแบบย่อและ แบบขยาย โดยเปรียบเทียบได้จากตัวเลขแสดงเปอร์เซ็นต์ (Percent) ของการย่อ/ขยาย

   10. หมายเลข 10 แถบเลื่อน (Scroll Bar) โดยปกติมีทั้งแนวตั้งและแนวนอน ใช้สําหรับการเลื่อนดูเอกสารทั้งในแนว บน-ล่าง และแนวซ้าย-ขวา

วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การบริการบนอินเตอร์เน็ต

บริการบนอินเทอร์เน็ต

1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ Email

 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล (electronic mail หรือ e-mail)
           เป็นบริการใช้ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากผู้ใช้งานสามรถรับส่งข้อความเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร กับบุคคลอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้บริการระบบไปรษณีย์แบบดั้งเดิม นอกจากนี้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถส่งข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากตัวอักษรได้อีกด้วย เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้นแนบไปได้อีกด้วย
         การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการระบุที่อยู่ของผู้รับเช่นเดียวกับการระบุที่อยู่บนซองของการส่งไปรษณีย์ธรรมดาทั่วไป ซึ่งในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีที่อยู่เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรส (e-mail Address)
         สำหรับรูปแบบของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ และชื่อเครื่องบริการ โดยใช้เครื่องหมาย @ (ออกเสียงว่า แอ็ท) คั่นระหว่างทั้งสองส่วนนี้
         

1) เว็บเมล (Web Mail) เป็นการบริการการรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ โดยผู้ใช้สามารถสมัครลงทะเบียนในเว็บไซต์ที่เปิดให้บริการได้ จากนั้นผู้ใช้จะได้รับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสและรหัสผ่าน เพื่อขอเข้าใช้บริการผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว ซึ่งเว็บเมลส่วนใหญ่จะให้โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ

2) พ๊อปเมล (POP Mail) เป็นบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โดยใช้โปรแกรมจัดการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งโปรแกรมจัดการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่รับ-ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมพ๊อปเมลที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Outlook. Windows Mail, Netscape Mail เป็นต้น


2 การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล

         การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protocol: FTP) เป็นการโอนแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งอาจอยู่ใกล้หรือไกลกัน ในการโอนย้ายข้อมูล เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้กำลังใช้งานอยู่และมีการเรียกใช้โปรแกรมสำหรับการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล เรียกว่า เครื่องต้นทาง (Local host) ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องลูกข่าย ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำการติดต่อไปเพื่อโอนย้ายแฟ้มข้อมูลนั้นเรียกว่าเครื่องปลายทาง (remote host) โดยทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่าย
         การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล มีการทำ 2 ลักษณะ คือ
         1. get เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องปลายทางมายังเครื่องต้นทาง (download)
         2. put เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทาง (upload)

3 การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น         
การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (Internet forum) เป็นบริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การอภิปรายและแสดงความคิดเห็นร่วมกันของผู้คนในสังคมผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งแนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ต คือ ใช้เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคม (social network) เทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนข่าวสารมีหลากหลายรูปแบบ


1) ยูสเน็ต (usenet) เป็นบริการในลักษณะกลุ่มสนทนาที่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้ต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิก (subscribe) กลุ่มหัวข้อใดที่ตนเองสนใจ และเมื่อเป็นสมาชิกแล้วก็จะสามารถเรียกดูข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่อยู่ในกลุ่มหัวข้อนั้นได้และยังสามารถขอความคิดเห็น  ซึ่งหากผู้ใช้ไม่ต้องการอ่านข่าวสารในกลุ่มหัวข้อนั้นอีก ก็สามารถยกเลิกการเป็นสมาชิก (unsubscribe) ของกลุ่มหัวข้อนั้นได้
         2) บล็อก (blog) ย่อมาจากคำว่า เว็บบล็อก (webblog)  เป็นเว็บไซต์ที่ใช้เขียนบนทึกเรื่องราว โดยเรียงลำดับตามเวลา เพื่อสื่อสารความรู้สึก มุมมอง ประสบการณ์ ความรู้ และข่าวสาร โดยจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้ส่วนบนสุดของเว็บไซต์หรือบางครั้งอาจเรียกว่า ไดอารีออนไลน์ (diary online) เช่น Hi5, Face book, Wikipedia, YouTube เป็นต้น


4     การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต   
   การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต มี 2 รูปแบบ ดังนี้
         1) การสนทนาเป็นกลุ่ม  เป็นการสนทนาโดยคู่สนทนาจะพิมพ์ข้อความไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ จากนั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อความแสดงบนหน้าจอของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ร่วมสนทนา ซึ่งผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเข้าสู่ระบบ โดยส่วนใหญ่เว็บไซต์จะแบ่งห้องสนทนา (chat room) เป็นกลุ่มหัวข้อต่างๆ  ให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้บริการตามความสนใจ ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการwww.sanook.com  www.pantip.com เป็นต้น



2)   การสนทนาระหว่างผู้ใช้โดยตรง  เป็นการสนทนาโดยมีเซิร์ฟเวอร์บอกตำแหน่งของโปรแกรมสนทนา (instant messaging)  ของคู่สนทนา ทำให้ผู้ใช้สามารถสนทนากับผู้ใช้อื่นๆ ได้โดยตรง การสนทนาไก้ทั้งการพิมพ์ข้อความ การส่งภาพกราฟิก เสียง และภาพเคลื่อนไหว นอกจากนี้โปรแกรมยังมีฟังก์ชั่นและลูกเล่นต่างๆ ที่เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้โปรแกรมสนทนาที่นิยมใช้ในปัจจุบัน



5 บริการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต

         การค้นหาข้อมูลในอดีตนักเรียนจะต้องเดินทางไปห้องสมุด เพื่อหาหนังสือที่เกี่ยวข้อง แต่ปัจจุบันมีอินเทอร์เน็ตซึ่งแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ เปรียบเสมือนข้องสมุดหลายแห่งทั่วโลกที่เชื่อมโยงกัน ดังนั้น การสืบค้นข้อมูลจึงทำได้สะดวกขึ้น แต่งสิ่งหนึ่งที่นักเรียนจะต้องคำนึงถึง คือ การค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตนั้น อาจต้องใช้เวลานานมาก กว่าจะพบเว็บเพจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ หรืออาจพบแต่เป็นเนื้อหาที่ไม่ถูกต้อง และบางครั้งอาจหาไม่พบเลย ซึ่งเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลแบ่งเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการทำงาน ดั้งนี้

1)      เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือหรือโปรแกรมการค้นหา ตัวอย่าง เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือ www.google.comwww.bing.com,  www.search.com เป็นต้น



2) เว็บไซต์ที่มีการจัดข้อมูลตามหมวดหมู่ (web directories)ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีการจัดข้อมูลตามหมวดหมู่ เช่น www.sanook.com , www.yahoo.com เป็นต้น




เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย

เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย

1.อินฟาเรด

อินฟราเรด (Intrared) เป็นลักษณะของคลื่นที่ใช้ในการส่งข้อมูลระยะใกล้ๆ ในช่วงความถี่ที่แคบมาก ใช้ช่องทงสื่อสารน้อย มักใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่ไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างตัวส่งกับตัวรับสัญญาณ โดยต้องใช้วิธีการสื่อสารตามแนวเส้นตรง ระยะทางไม่เกิน 1 – 2 เมตร ความเร็วประมาณ 4 -16

เมกกะบิตต่อนาที เช่น การส่งสัญญาณจากรีโมตคอนโทรลไปยังโทรทัศน์ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สองเครื่องโดยผ่านพอร์ตไออาร์ดีเอ เป็นต้น 

2.คลื่นวิทยุ


คลื่นวิทยุ (radio frequency) ใช้ส่งสัญญาณไปในอากาศ โดยมีตัวกระจายสัญญาณส่งไปยังตัวรับสัญญาณ และใช้คลื่นวิทยุในช่วงความถี่ต่างๆ กัน มีความเร็วต่ำประมาณ 2 เมกกะบิตต่อนาที เช่น การสื่อสารในระบบวิทยุเอฟเอ็ม (Frequency Modulation : FM) เอเอ็ม (Amplitude Modulation : AM)  การสื่อสารโดยใช้ระบบไร้สาย และบลูทูท

3.ไมโครเวฟ

 ไมโครเวฟ (microwave) จะใช้การส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศพร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวหรือโค้งตามขอบโลกได้ จึงต้องมีการตั้งสถานีรับ – ส่งข้อมูลเป็นระยะๆ และส่งข้อมูลต่อกันเป็นทอดๆ ระหว่างสถานีต่อสถานี จนกว่าจะถึงสถานีปลายทาง และแต่ละสถานีจะตั้งอยู่ในที่สูง เช่น ดาดฟ้าของตึกสูล ยอดเขา เป็นต้น เพื่อหลีกเลี่ยงการชนสิ่งกีดขวางในแนวการเดินทางของสัญญาณ เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกล และทุรกันดาร

 

4.ดาวเทียม

ดาวเทียม (satellite) เป็นสถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟบนดาดฟ้า ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อหลีกเลียงข้อจำกัดของสถานีรับ – ส่งไมโครเวฟบนผิวโลก เพื่อใช้เป็นสถานีรับ – ส่ง สัญญาณไมโครเวฟบนอวกาศ และทวนสัญญาณในแนวโคจรของโลก ซึ่งจะต้องมีสถานีภาคพื้นดิน ทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียมที่โคจรอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,600 ไมล์ โดยดาวเทียมเหล่านั้นจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เท่ากับการหมุนของโลก จึงเสมือนกับดาวเทียมนั้นอยู่นิ่งกับที่ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้การส่งสัญญาณไมโครเวฟจากสถานีหนึ่งขึ้นไปบนดาวเทียมและการกระจายสัญญาณจากดาวเทียมลงมายังสถานีตามจุดต่างๆ บนผิวโลกเป็นไปอย่างแม่นยำ








วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

 1.เครื่อข่ายส่วนบุคคล (PAN)
PAN คือ "ระบบการติดต่อสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล" ย่อมาจาก Personal Area Network หรือเรียกว่า BluetoothPersonal Area Network (PAN)คือเทคโนโลยีการเข้าถึงไร้สายในพื้นที่เฉพาะส่วนบุคคล โดยมีระยะทางไม่เกิน 1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps) ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้กันแพร หลาย ก็เช่น• Ultra Wide Band (UWB) ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.3a• Bluetooth ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.1• Zigbee ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.4เทคโนโลยีเหล่านี้ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง(peripherals) ให้สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ และยังใช้สำหรับการรับส่งสัญญาณวิดีโอที่มีความละเอียดภาพสูง (high-definition video signal) ได้ด้วยPersonal Area Network (PAN)ช่วยให้เราสามารถจัดการข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆที่เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างหลากหลายคิดค้นโดยนักวิจัยของ MIT รวมกับIBM โดยจะสร้างกระแสไฟฟ้าแรงต่ำ (ระดับพิโคแอมป ) ออกไปตามผิวหนังโดยเครื่องรับสัญญาณตามจุดต่างๆ ของร่างกายสามารถรับสัญญาณได้

  





2.เครื่อข่ายเฉพาะที่หรือแลน(LAN)

เป็นเครือข่ายขนาดเล็กซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในอง๕การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เป็นต้น โดยคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต่อเข้ากับอุปกรณ์เครือข่าย เช่น ฮับ สวิตช์ เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เครือข่ายแต่ละตัวจะเชื่อมต่อกันโดยใช้สายตีเกลียวคู่ สายใยแก้วนำแสงหรือคลื่นวิทยุ และเครือข่ายแลนจะเชื่อมต่อถึงกันด้วยอุปกรณ์จัดเส้นทาง (router) การสร้างเครือข่ายแลนนี้แต่ละองค์กร สามารถดำเนินการเองได้ โดยการวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคารหรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลนมีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็กที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปภายในห้องเดียวกัน จนถึงเชื่อมโยงระหว่างห้องหรือองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ภายในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย เป็นต้น ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องที่เชื่อมต่อกัน สามารถส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และยังสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อีกด้วย 


3.เครื่อข่ายนครหลวง(MAN)

   เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงแลนที่อยู่ห่างกัน เช่น ระหว่างสำนักงานที่อยู่คนละอาหาร ระบบเคเบิลทีวีตามบ้านในปัจจุบัน เป็นต้น โดยมีลักษณะการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่มีระห่างไกลกันในช่วง 5-40 กิโลเมตร ผ่านสายสื่อสารประเภทสายใยแก้วนำแสงสายโคแอกเชียล หรืออาจใช้คลื่นไมโครเวฟ



4.เครื่อข่ายวงกว้าง(WAN)

เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล มีการติดต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ เป็นต้น

5.เครื่อข่ายทั่วโลก(WWW)

เครือข่ายทั่วโลกหรือเครือข่ายใยแมงมุม (World wide Web หรือ W3 หรือ WWW) เรียกสั้น ๆ ว่า เว็บ (Web) เป็นรูปแบบหนึ่งของระบบ การเชื่อมโยงเครือข่ายข่าวสาร ใช้ในการค้นหาข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต มีการเชื่อมโยงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหนึ่งไปยังอีกแหล่งข้อมูลที่อยู่ห่างไกล เพื่อให้มีความง่ายต่อการใช้งานมากที่สุด

WWW จะแสดงผล ในรูปแบบของเอกสารที่ เรียกว่า ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext ) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่รวบรวมข่าวสาร ข้อมูลที่อยู่กระจัดกระจาย ไปในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ให้สามารถนำมาใช้งานได้ เสมือนอยู่ในที่เดียวกัน คล้ายกับเส้นใยแมงมุม ที่ถักทอเส้นสาย เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลกันไปมา



การให้บริการของอินเทอร์เน็ต แบบ WWW เป็นระบบงาน ที่ทรงพลังมากในยุคปัจจุบัน ทำให้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกอย่างแท้จริง เนื่องจากสามารถให้บริการข้อมูลได้ทั้งในแบบข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว ทำให้ข้อมูลที่นำมาแสดง มีความน่าสนใจขึ้น การค้นหาข้อมูลแบบ WWW จะมีการเชื่อมโยงข้อมูล ตามเส้นทาง ที่กำหนดไว้ เรียกว่า LINKS




วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2560


                                              ด.ญ.ขวัญลักษณ์  ทัศนา  ม.2/1  เลขที่ 20
                                                               โรงเรียนถาวรานุกูล
                                                                  099-181-4423

จริยธรรมการใช้อินเตอร์เน็ต

จริยธรรมการใช้อินเตอร์เน็ต ผลเสีย " ข้าราชการชายคนหนึ่ง โพสต์เหยียดหยามเด็กปั๊ม"   ผลกระทบ : เด็กปั๊มเกิดความเสียหาย ขายหน...